วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

            วิธีการปลูกผักบุ้ง


               ผักบุ้งจีนเป็นพืชพันธุ์เมืองร้อนชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภคกันมาก ลักษณะของผักบุ้ง รากของผักบุ้งจีนเป็นระบบรากแก้ว มีรากแขนง แตกออกทางด้านข้างของรากแก้ว และยังสามารถแตกเป็นรากฝอยออกมาจากข้อของลำต้น โดยมักจะเกิดตามข้อที่อยู่บริเวณโคน เถาลำต้น ผักบุ้งจีนเป็นไม้ล้มลุก ระยะเติบโตจะมีลำต้นตรง ใบผักบุ้งเป็นใบเดียว รูปคล้ายหอก โคนใบกว้าง เรียวเล็กไปตอนปลาย
               การขยายพันธุ์
               ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดในการปลูก
               ระยะเวลาปลูก
               20-25 วัน ก็สามารถเก็บได้
               การเตรียมดินในการปลูก
               เนื่องจากผักบุ้งจีนเป็นพืชที่มีระบบรากตื้น และอายุการเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 20-25 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ ในการเตรียมดินควรไถดะลึกประมาณ 10-15 ซม. แล้วตากไว้ประมาณ 10-15 วัน แล้วทำการไถพรวนย่อยดินแล้วยกแปลงปลูก หลังจากทำแปลงเรียบร้อยแล้ว จึงใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ย่อยดินและปุ๋ยให้เข้ากัน หากเป็นกรดมาก ควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับความเป็นกรดของดิน
               วิธีปลูก
               การปลูกผักบุ้งจีนนิยมปลูกแบบหว่าน หรือบางครั้งอาจใช้โรยเมล็ดเป็นแถว เนื่องจากเมล็ดผักบุ้งจีนมีเปลือกที่หนาและแข็ง ทำให้งอกค่อนข้างยาก ควรใช้วิธีกระตุ้นเมล็ดก่อน โดยใช้น้ำอุ่นเป็นตัวกระตุ้น นำเมล็ดผักบุ้งแช่น้ำอุ่นไว้ประมาณ 4-5 ชั่วโมง แล้วจึงนำไปปลูก
               การดูแลรักษา
               การให้น้ำ  ผักบุ้งจีนเป็นพืชที่ชอบดินปลูกที่ชุ่มชื้น แม่ไม่แฉะจนมีน้ำขัง ควรรดน้ำผักบุ้งจีนทุก ๆ วัน วันละ 1-2 ครั้ง
               การใส่ปุ๋ย ถ้าดินปลูกมีความอุดมสมบูรณ์หรือมีการใส่ปุ๋ยอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมีแต่ถ้าดินไม่ค่อยสมบูรณ์ควรมีการใส่ปุ๋ยคอก ในการใส่ปุ๋ยเคมีนั้นจะมีวิธีการละลายน้ำรด 3-5 วัน/ครั้ง โดยใช้อัตราส่วน ปุ๋ยยูเรีย 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร จะเป็นการช่วยให้ผักบุ้งจีนเจริญเติบโตดี
              การเก็บเกี่ยว
         หลังจากหว่านเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนลงแปลงปลูกได้ 20-25 วัน ผักบุ้งจีนจะเจริญเติบโตมีความสูงประมาณ 30-35 ซม. ให้ถอนต้นผักบุ้งจีนออกจากแปลงปลูกทั้งต้นและราก หลังจากนั้นล้างรากให้สะอาดนำมาผึ่งไว้





ประโยชน์ของ การปลูกผักบุ้งจีน

ผักบุ้งไทยจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าผักบุ้งอื่น แต่สำหรับผักบุ้งจีนจะมีแคลเซี่ยม และเบต้า-แคโรทีน มากกว่าผักบุ้งอื่น

คน ที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำนั้นไม่ควรรับประทานผักบุ้งเลย เพราะว่าผักบุ้งนั้นมีคุณสมบัติลดความดันโลหิต และถ้าคนที่มีความดันโลหิตต่ำยังรับประทานผักบุ้งเข้าไปอีกก็จะยิ่งต่ำลงไป อีก ก่อให้เกิดอาการเป็นตะคริว ร่างกายอ่อนแอลงได้ ฉะนั้นผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำไม่ควรรับประทานผักบุ้งเลยจะดีที่สุด

ผัก บุ้งไทยโดยเฉพาะชนิดต้นขาวจะมีวิตามินซีสูงกว่าชนิดอื่น ๆ ช่วยบำรุงรักษาเหงือก ฟัน ให้แข็งแรง ช่วยทำให้ผิวสวย เลือดดี และเพิ่มความต้านทานโรค ไม่เกิดอาการ แพ้ ต่าง ๆ ง่าย เคล็ดลับอยู่ที่ต้องกินสด ๆ คุณค่าทางวิตามินจะได้ไม่สูญเสียไป

ใน ผักบุ้งขาว 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 22 กิโลแคลอรี่ และยังประกอบด้วยเส้นใย 101 กรัม แคลเซียม 3 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เหล็ก 3 มิลลิกรัม วิตามินเอ 11,447 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.17 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.3 มิลลิกรัม วิตามินซี 14 มิลลิกรัม ค่ะ
และมีสารต้านฮีสตามีน

นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงเลือด มีแคลเซียม และฟอสฟอรัส บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง รวมทั้งมีเส้นใย อาหารที่ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นผักบุ้งยังมีสารชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลิน ที่ทำหน้าที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน

สรรพคุณของผักบุ้งไทยต้นขาว
สรรพคุณ ของผักบุ้งไทยต้นขาวและวิธีการใช้ ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของผักบุ้งไทยต้นขาวคือ ดอก ใบ ทั้งต้น และราก ซึ่งแต่ละส่วนจะให้สรรพคุณแตกต่างกันดังต่อไปนี้
ดอก ใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อน ต้นสดใช้ดับพิษ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ลดอาการแพ้ อักเสบ ปวด บวม บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน เป็นยาดับร้อน แก้ปัสสาวะเหลือง
ทั้งต้น ใช้แก้โรคประสาท ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย แก้กลาก เกลื้อน แก้เบาหวาน แก้ตาอักเสบ บำรุงสายตา แก้เหงือกบวม แก้ฟกช้ำ ถอนพิษ
ใบ ใช้ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย นำใบสดมาตำ แล้วคั้นเอาน้ำมาดื่ม จะทำให้อาเจียน ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้พิษของฝิ่นและสารหนู มีวิตามินเอสูง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
ราก ใช้แก้ไอเรื้อรังและแก้โรคหืด ถอนพิษผิดสำแดง ใช้แก้สตรีมีตกขาวมาก เบาขัด เหงื่อออกมาก ลดอาการบวม












ผักบุ้งสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น


ผัดผักบุ้งหมูกรอบ



ผักบุ้งทอดกรอบ




แกงส้มผักบุ้งใส่กุ้ง